การซื้อขายแบบ Positionเป็นรูปแบบหนึ่งของการซื้อขายที่เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่มีความอดทนสูง ฉลาด และมีวิสัยทัศน์ไกล ผู้มีความรู้สึกที่แท้จริงต่อตลาด เป้าหมายหลักของพวกเขาคือการได้รับผลประโยชน์จากแนวโน้มที่โดดเด่นมากกว่าจากความผันผวนของตลาดในระยะสั้น โดยปกติแล้ว พวกเขาจะใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานกับคำสั่งซื้อขายของพวกเขา แต่บางครั้ง พวกเขาจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางเทคนิคด้วยเช่นกัน และคุณลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งที่กำหนดเทรดเดอร์ที่เทรดแบบ Position คือพวกเขามีบัญชีขนาดใหญ่พอสมควรในการซื้อขาย
การซื้อขายแบบ position มีข้อดีหลัก ๆ อย่างน้อย 2 ประการ:
ในขณะทำการซื้อขาย คุณไม่เพียงทำเงินได้ได้จากคำสั่งซื้อขายของคุณเท่านั้น แต่อาจทำเงินได้จากส่วนต่างของดอกเบี้ยอีกด้วย สิ่งนี้มาจากความจริงที่ว่าดอกเบี้ยหรือสวอปจะต้องถูกจ่ายให้กับสกุลเงินที่ยืมและได้รับมาจากสกุลเงินที่ซื้อ
การเป็นเทรดเดอร์ที่เทรดแบบ positon ทำให้คุณอาจได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างสกุลเงินและตราสารทางการเงินอื่น ๆ
ในบทความต่อไปนี้ เราจะมาสำรวจกลยุทธ์ที่รวบรวมสองด้านของการซื้อขายแบบ positon ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งก็คือความสัมพันธ์ของสวอปและสินค้าโภคภัณฑ์
กลยุทธ์ที่ 1
ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราตัดสินใจที่จะซื้อขายคู่สกุลเงิน CADJPY
แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง ดังนั้น โดยปกติแล้วดอลลาร์แคนาดาจะปรับตัวขึ้นหากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้าม ญี่ปุ่นถือเป็นผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิ สิ่งนี้ส่งผลให้สกุลเงินเยนอ่อนค่าลงหากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของคู่สกุลเงิน CADJPY
แนวคิดของกลยุทธ์:
กรอบเวลา - รายวัน
การตั้งค่าสถานะ long:
ขั้นแรก ให้ระบุแนวต้านบนกราฟรายวันของ oil futures
หาแท่งเทียนที่ปิดเหนือแนวต้าน
เปิดสถานะ long บน CADJPY ทันทีที่แท่งเทียนแท่งถัดไปเปิดขึ้น
วาง stop-loss ที่ระดับแนวรับสำคัญที่อยู่ก่อนจุดเข้า
ตั้งจุด take-profit ไว้ต่ำกว่าระดับแนวต้านสำคัญถัดไปหลังจุดเข้า
ตัวอย่าง:
ในกราฟรายวันของ WTI เราระบุได้ว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้นและกำลังมองหาการทำลายแนวโน้มดังกล่าว แท่งเทียนที่ปิดเหนือเส้นแนวโน้มได้เกิดขึ้นในวันที่ 3 มกราคม หลังจากนั้นในวันที่ 4 มกราคม เราได้เปิดสถานะ long บนคู่เงิน CADJPY ที่ราคาเปิดของแท่งเทียนที่ 79.79 เราได้วางจุด stop-loss ไว้ที่ระดับแนวรับก่อนหน้าที่ระดับ 78.91 และวางจุด take-profit ที่ระดับ 81.8
การตั้งค่าสถานะ short
ระบุแนวรับของกราฟน้ำมันในกรอบเวลารายวัน.
หาแท่งเทียนที่ปิดใต้แนวรับ
เปิดสถานะ short บนคู่ CADJPY ที่ราคาเปิดของแท่งเทียนแท่งถัดไป
วาง stop loss ที่ระดับแนวต้านสำคัญที่อยู่ก่อนจุดเข้า
ตั้งจุด take profit ไว้ใต้ระดับแนวรับสำคัญถัดไปที่อยู่หลังจุดเข้า
ตัวอย่าง:
ในกราฟรายวันของ WTI ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวขึ้นเหนือระดับแนวรับที่ 50.57 ดอลลาร์ เราได้รอการทะลุระดับนี้ ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม หลังจากนั้น เราได้สลับไปดูกราฟของ CAD/JPY เราเปิดสถานะ short ที่ราคาเปิดของแท่งเทียนของวันที่ 18 ธันวาคม ที่ราคา $84.14 จุด stop loss ของสถานะนี้จะถูกตั้งไว้ที่ระดับ 85.27 ดอลลาร์ ส่วนจุด take profit จะอยู่ที่ 82.7 ดอลลาร์
กลยุทธ์ที่ 2
กลยุทธ์ที่เราจะอธิบายในที่นี้คือการอธิบายถึงความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (ดัชนีที่วัดมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐเทียบกับมูลค่าของตะกร้าสกุลเงินหลัก) และราคาทองคำ ตามกฎแล้ว ดัชนีดอลลาร์สหรัฐจะปรับตัวลงในตอนที่ราคาทองคำปรับตัวขึ้น
แนวคิดของกลยุทธ์:
กรอบเวลา – รายวัน
การตั้งค่าสถานะ long:
ระบุระดับแนวรับบนกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (กรอบเวลารายวัน)
หาแท่งเทียนที่ปิดใต้แนวรับ
เปิดสถานะ long บนกราฟทองคำที่ราคาเปิดของแท่งเทียนแท่งถัดไป
วาง stop-loss ที่ระดับแนวรับสำคัญที่อยู่ก่อนจุดเข้า
ตั้งจุด take profit ไว้ใต้ระดับแนวต้านสำคัญถัดไปที่อยู่หลังจุดเข้า
ตัวอย่าง:
ในกราฟรายวันของดัชนีดอลลาร์สหรัฐ เราได้สังเกตเห็นการทะลุแนวรับที่ระดับ 95.66 ในวันที่ 7 มกราคม หลังจากนั้น, เราได้เปิดดูกราฟทองคำและเปิดสถานะ long ที่ราคา $1285 ในวันที่ 8 มกราคม เราได้วาง stop loss ไว้ที่ระดับแนวรับก่อนหน้าที่ราคา $1273 ส่วนระดับ take profit ได้ถูกตั้งไว้ที่ราคา $1299 (ต่ำกว่าระดับแนวต้านเพียงเล็กน้อย)
การตั้งค่าสถานะ short:
ระบุระดับแนวรับบนกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (กรอบเวลารายวัน)
ระบุแท่งเทียนที่ปิดเหนือแนวต้าน
เปิดสถานะ short บนกราฟทองคำที่จุดเปิดของแท่งเทียนแท่งถัดไป
วาง stop loss ที่ระดับแนวต้านสำคัญที่อยู่ก่อนจุดเข้า
ตั้งจุด take profit ไว้ใต้ระดับแนวรับสำคัญถัดไปที่อยู่หลังจุดเข้า
ตัวอย่าง:
สถานการณ์ที่คุณจำเป็นต้องเปิดสถานะ short ก็จะคล้าย ๆ กับสถานการณ์ของสถานะ long ในวันที่ 10 สิงหาคม (วันศุกร์) เราได้พบการทะลุแนวต้านในกราฟรายวันของดัชนีดอลลาร์สหรัฐ เราได้สลับไปที่กราฟ XAUUSD และเปิดสถานะ Short ที่ราคาเปิดของแท่งเทียนในวันที่ 13 สิงหาคม (วันจันทร์) ที่ราคา $1211 เราได้วาง stop loss ไว้เหนือระดับแนวต้านแรกที่อยู่ก่อนจุดเข้าที่ราคา $1220 ส่วนระดับ take profit ได้อยู่ที่ราคา $1198 (ใกล้ระดับแนวรับ)
สรุป
การเข้าใจความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะทำให้เทรดเดอร์ที่เทรดแบบ position สามารถจับการเคลื่อนไหวของตลาดและเปิดสถานะในจังหวะที่เหมาะสมได้